หน้าแรก / สาระน่ารู้ / เกร็ดความรู้
เกร็ดความรู้
หน้าแรก / เกร็ดความรู้

"ผ้าปูที่นอน" ควรเปลี่ยนบ่อยแค่ไหน เพื่อสุขภาพที่ดี

Line

"ผ้าปูที่นอน" ควรเปลี่ยนบ่อยแค่ไหน เพื่อสุขภาพที่ดี

Line

          ผ้าปูที่นอน ถืออีกสิ่งหนึ่งที่เราจำเป็นจะต้องใช้เป็นประจำทุกวัน และใช้เวลาอยู่กับมันนานหลายชั่วโมง การซักผ้าปูที่นอนของแต่ละคนก็อาจจะแตกต่างกันไป สัปดาห์ละครั้ง หรือบางคนอาจจะเดือนละครั้ง แต่รู้หรือไม่ว่าผ้าปูที่นอนนั้นสามารถเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคที่สำคัญได้อีกหนึ่งแหล่ง วันนี้มีเรื่องเกี่ยวกับผ้าปูที่นอนมาฝากกัน

ทำไมการซัก ผ้าปูที่นอน ถึงเป็นเรื่องสำคัญ

          บนที่นอนถือเป็นสถานที่ที่มีความสุขของทุกๆ คนมากที่สุด แต่รู้หรือไม่ว่า ผ้าปูที่นอน เป็นแหล่งเพาะเชื้อแบคทีเรียอย่างดี ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะ การนอนหลับทำให้ผิวของเราใช้เวลานี้ในการสร้างตัวเองขึ้นมา ส่งผลให้เซลล์ผิวที่ตายแล้วและเซลล์ผิวใหม่ ถูกดักจับโดยผ้าปูที่นอน ทำหน้าที่เหมือนตาข่ายดักจับปลา ที่คอยจับเซลล์ของมนุษย์หลายพันชนิด รวมถึงน้ำมันที่ออกมาจากร่างกาย ของเหลวต่างๆ รวมถึงปัสสาวะ และอุจจาระ อีกด้วย

          นอกจากนั้นคนเรายังหลั่งเหงื่อออกมาถึง 26 แกลลอนบนเตียงทุกๆ ปี และเมื่อเตียงเจอกับความชื้น ก็จะทำให้เกิดเชื้อราขึ้นนั่นเอง ดังนั้น ถ้าตัวคุณมีรอยขีดข่วนก็อาจเกิดการติดเชื้อได้ นอกจากนั้นเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ยังมีตัวการในการดึงไรฝุ่นให้มาอยู่บนที่นอน สามารถส่งผลต่อผู้ที่เป็นโรคหอบหืดได้ด้วย
 

ดังนั้น การซักผ้าปูที่นอนให้สะอาดอยู่เสมอ จึงเป็นการป้องกันเชื้อรา เชื้อโรค และไรฝุ่น ที่อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพขึ้นได้นั่นเอง

จะแย่แค่ไหน ถ้าไม่ซักผ้าปูที่นอนทุกสัปดาห์

คราวนี้ลองมาดูกันบ้างดีกว่าว่า ถ้าคุณไม่ซักผ้าปูที่นอนทุกสัปดาห์ สามารถส่งผลเสียต่อคุณอย่างไรบ้าง ผลต่างๆ ที่เกิดขึ้น มีดังนี้

    ไร

         ร่างกายของเรานั้นผลัดเซลล์ผิววันละ 500 ล้านเซลล์ ทำให้เกิดเป็นคราบคิดอยู่บนเตียงเมื่อคุณกลิ้งไปกลิ้งมา ซึ่งเซลล์ที่ตายแล้วจะกองอยู่บนผ้าปูที่นอน นอกจากนั้นไรฝุ่นยังชอบกินเซลล์ที่ถูกผลัดออก โดยไรฝุ่นที่เกิดขึ้นนี้อาจส่งผลทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด ทั้งยังอาจทำให้คุณเป็นกลาก คัน ได้อีกด้วย

    ติดเชื้อรา

          หากคุณที่ชอบเอาสัตว์เลี้ยงมานอนด้วย ก็ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะไรฝุ่นอาจทำให้ผิวของสัตว์กลายเป็นโรคเรื้อนได้ ทั้งมันยังสามารถแพร่กระจายมายังผิวหนังของคุณได้อีกด้วย อาจจะทำให้คุณเกิดความระคายเคือง และคัน นอกจากนั้นสัตว์เลี้ยงก็ยังสามารถติดเชื้อรา หรือที่เรียกว่า กลากของหนังศีรษะจากคุณได้อีกด้วย
 

    แบคทีเรีย

         เซลล์ผิวที่ตายแล้ว เหงื่อ น้ำลาย และอื่นๆ สามารถเปลี่ยนเตียงของคุณเป็นจานเพาะเชื้อโรคมากมายได้โดยไม่ยาก ตัวอย่างการทดลองในห้องปฏิบัติการพบว่า ปลอกหมอนที่ไม่ได้ซักเป็นเวลา 1 สัปดาห์ มีแบคทีเรียถึง 17,000 เท่า ซึ่งเท่ากับเชื้อโรคที่เกิดขึ้นบนที่นั่งชักโครกเลยก็ว่าได้

    สิว

         อาการสิวที่เป็นอยู่ของคุณอาจจะแย่ลง หรือไม่สามารถหาสาเหตุได้ว่าทำไมคุณถึงเป็นสิว นั้นเป็นผลมาจากการไม่ซักผ้าปูที่นอนและปลอกหมอนนั่นเอง เนื้อจากเซลล์ผิวที่ตายแล้ว และแบคทีเรีย สามารถอุดตันรูขุมขน จนทำให้เกิดเป็นสิวขึ้นมาได้นั่นเอง

    จุลินทรีย์

          แบคทีเรียหรือไวรัสส่วนใหญ่ สามารถอยู่รอดได้บนพื้นผิวที่อ่อนนุ่มเป็นเวลาหลายนาทีถึงหลายชั่วโมง ระยะเวลาจะแตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของจุลินทรีย์ เช่น ไวรัสไข้หวัดใหญ่ จะอาศัยอยู่ในเนื้อผ้าเป็นเวลา 15 นาที แต่จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองในกระเพาะอาหาร สามารถอยู่รอดในเนื้อผ้าได้นานถึง 4 ชั่วโมง

    โรคราน้ำค้าง

         หมอนของคุณอาจเต็มไปด้วยเชื้อรา ซึ่งเชื้อราบางชนิดมีผลกระทบต่อผู้ที่เป็นโรคหอบหืด ดังนั้นการซักผ้าปูที่นอน รวมถึงปลอกหมอนจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่เมื่อซักแล้วก็ต้องแน่ใจว่าตากไว้จนแห้ง เพราะไม่เช่นนั้นก็อาจจะมีโรคราน้ำค้าง ติดมากับเครื่องนอนของคุณก็เป็นได้
 

ควรซักผ้าปูที่นอนบ่อยขนาดไหนถึงจะดี

         นักจุลชีววิทยา แนะนำว่า ควรล้างผ้าปูที่นอน ผ้านวม และปลอกหมอนอย่างสัปดาห์ละ 1 ครั้ง โดยใช้อุณหภูมิที่ 60 องศาเซลเซียส เพื่อทำลายแบคทีเรียให้สะอาด นอกจากนั้นแล้วควรใช้ผ้าปูที่นอนและปลอกหมอนที่แห้งสนิทเท่านั้น โดยเมื่อซักเสร็จควรนำไปตากให้โดนแสงแดด เพื่อทำการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ นอกจากนั้นควรใช้เตารีด รีดผ้าปูที่นอน และปลอกหมอน เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เหลือ

          แม้คุณจะสามารถดูแลทำความสะอาดผ้าปูที่นอน ผ้านวม และปลอกหมอนอยู่สม่ำเสมอ การซักแห้ง ก็ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพ ทั้งยังง่ายและเหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณอีกด้วย นอกจากนี้ยังทำให้คุณรู้สึกปลอดภัยจากแบคทีเรียอีกด้วย

         กระบวนการซักแห้งนั้นจะใช้ตัวทำลายสารเคมีร่วมด้วย โดยทั่วไปจะมีการใช้สารเคมีที่ชื่อว่า เตตราคลอโรเอทธิลลีน (Tetrachloroethylene) สารเคมีชนิดนี้จะทำหน้าที่เหมือนคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่คอยต้านเชื้อแบคทีเรีย คุณจึงมั่นใจได้ว่าผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน และผ้านวมของคุณจะถูกผ่านการฆ่าเชื้อและทำความสะอาดอย่างสมบูรณ์แบบ




ขอขอบคุณ

ข้อมูล :สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย
เรียบเรียงโดย : Sanook.com
ภาพ :freepik.com
ศูนย์รับสร้างบ้านพีดีเฮ้าส์
เราสร้างบ้านเพื่ออนาคต

Line